มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ศาลายา นครปฐม

การรับสมัคร รอบที่ 4 Direct Admission

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤต วิชาเอกพระไตรปิฎกศึกษา (บรรพชิต ทุนวาสนมหาเถร)

เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 2568

คุณสมบัติ/เงื่อนไขการรับ

คะแนน GPAX ต่ำสุด 2.00

คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สมัคร ๑. มีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน ๓๕ ปี ๒. สำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า (เปรียญธรรม ๓ ประโยคขึ้นไป) ๓. มีความประพฤติเรียบร้อย มีจริยาวัตรงดงาม เหมาะสมแก่สมณสารูป ๔. มีสังกัดคณะสงฆ์ตามพรบ.คณะสงฆ์ หลักฐานประกอบการสมัคร ๑. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๒ รูป (รูปถ่ายไม่เกิน ๖ เดือน) ๒. สำเนาใบแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือใบรับรองคุณวุฒิที่ใช้สมัคร พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง หรือใบเกรดเฉลี่ยคะแนนสะสม ม.๔ – ม.๖ (๕ ภาคการเรียน) จำนวน ๑ ฉบับ ๓. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือสุทธิ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน ๑ ฉบับ ๔. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน ๑ ฉบับ ๕. สำเนาการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี) ๖. ใบอนุญาตให้เข้าศึกษาจากเจ้าอาวาส หรือใบรับรองความประพฤตินักเรียนจากสถานศึกษา วิธีการคัดเลือกและเกณฑ์การตัดสิน มหาวิทยาลัยจะดำเนินการคัดเลือกผู้มีสิทธิได้รับทุนการศึกษา โดยแบ่งเป็น ๒ รอบ ดังต่อไปนี้ รอบที่ ๑ การสอบข้อเขียน เป็นการสอบวัดความรู้ทางวิชาการในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความรู้ที่จำเป็นในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้ (๑) พระพุทธศาสนา และภาษาบาลีเบื้องต้น (๒) ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และความรู้ทั่วไป (๓) การคิดวิเคราะห์ การให้เหตุผล และการคำนวณเบื้องต้น รอบที่ ๒ การสอบสัมภาษณ์ ประเมินบุคลิกภาพ พฤติกรรม วุฒิภาวะทางอารมณ์ ทัศนคติ ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นหมู่คณะ ทักษะและความสามารถในการสื่อสาร ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา และคุณสมบัติอื่น ๆ ที่จำเป็นในการศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย เกณฑ์การตัดสิน (๑) ผู้ที่ได้คะแนนในรอบที่ ๑ มากกว่าร้อยละ ๖๐ จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ในรอบที่ ๒ (๒) ผู้ที่ได้คะแนนในรอบที่ ๒ มากกว่าร้อยละ ๖๐ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ตามจำนวนและหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด จึงจะเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับทุนการศึกษา การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ผ่านระบบรับสมัครและเว็บไซต์หลักของมหาวิทยาลัย https://www.mbu.ac.th จัดเป็นทุนการศึกษาต่อเนื่องแก่พระภิกษุและสามเณร จำนวน ๕๐ ทุนต่อปี ปีการศึกษาละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตลอดหลักสูตรรวม ๔๐๐,๐๐๐ บาท ต่อรูป ซึ่งครอบคลุมค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายส่วนตัวตลอดการศึกษา


รายละเอียดการรับ

ทุนการศึกษาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (วาสนมหาเถร) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ด้วย เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นายกสภามหาวิทยาลัย มีพระดำริเกี่ยวกับนโยบายการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยว่า ควรมีทุนการศึกษาที่จัดตั้งไว้เพื่อให้พระภิกษุและสามเณรได้ศึกษาที่มหาวิทยาลัยจนจบหลักสูตร อันจะเป็นการสร้างศาสนทายาทเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยทรงพระอนุสรณ์ว่า เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวราลงกรณ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (อดีตนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย) เป็นผู้ทรงคุณูปการแก่การศึกษาของคณะสงฆ์ จึงโปรดประทานพระนามเพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นั้นว่า "ทุนการศึกษาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (วาสนมหาเถร) ในพระสังฆราชูปถัมภ์" และประทานพระอนุญาตให้มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ดำเนินการบริหารทุนการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๑. เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้พระภิกษุและสามเณรที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น อันจะเป็นบุคลากรของคณะสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถในการสนองงานพระศาสนาและมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาได้ในอนาคต ๒. เพื่อให้พระภิกษุและสามเณรได้รับการศึกษาในหลักสูตรที่ทันสมัย เข้ากับบริบทของสังคมปัจจุบัน และมีการสอนตามหลักพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ให้สามารถเผยแพร่หลักธรรม คำสอนทั้งแก่คนไทยและชาวต่างประเทศ ๓. เพื่อยกระดับการศึกษาของพระภิกษุและสามเณร อีกทั้งเตรียมความพร้อมให้สามารถไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในต่างประเทศ อันจะเป็นการต่อยอดทางวิชาการและวิจัยทางด้านพระพุทธศาสนาให้มั่นคง ๔. เพื่อเตรียมบุคลากรคณะสงฆ์ของประเทศให้พร้อมต่อการเป็นศูนย์กลางในการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาของโลก ทุนดังกล่าว จัดเป็นทุนการศึกษาต่อเนื่องแก่พระภิกษุและสามเณร จำนวน ๕๐ ทุนต่อปี ปีการศึกษาละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตลอดหลักสูตรรวม ๔๐๐,๐๐๐ บาท ต่อรูป ซึ่งครอบคลุมค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายส่วนตัวตลอดการศึกษา ผู้ได้รับทุนจะศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในสาขาที่มหาวิทยาลัยกำหนด สามารถขอรับทุนการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ ข้อมูลหลักสูตร 1. ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Pali and Sanskrit 2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาบาลีและสันสกฤต) ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (ภาษาบาลีและสันสกฤต) ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Pali and Sanskrit) ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.A. (Pali and Sanskrit) 3. วิชาเอกเดี่ยว จำนวน 2 วิชาเอก วิชาเอก พุทธศาสตร์ (Buddhist Studies) วิชาเอกพระไตรปิฎกศึกษา (Tipitaka Studies) 4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 137 หน่วยกิต 5. รูปแบบของหลักสูตร 5.1 รูปแบบ: หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี 5.2 ประเภทของหลักสูตร: หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ 5.3 ภาษาที่ใช้: ภาษาไทย 5.4 การรับเข้าศึกษา: รับนักศึกษาไทย (ทั้งบรรพชิตและบุคคลทั่วไป) และนักศึกษาชาวต่างชาติ 5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น: หลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา: ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว จุดเด่น • คณาจารย์มีคุณวุฒิและความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านภาษาบาลี, สันสกฤตและภาษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษาฮินดี, ภาษาอังกฤษ, ภาษาพม่า, ภาษาเขมร เป็นต้น • ผู้เรียนจะได้เรียนรู้องค์ความรู้ทางภาษาบาลีและสันสกฤตอันเป็นพื้นฐานในการศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนาและแนวคิดทางปรัชญาของศาสนาอื่น ๆ โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อและดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม • มีทุนการศึกษา • มีโอกาสศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ คุณสมบัติผู้สมัคร • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (เปรียญธรรม 3 ประโยคขึ้นไป) • ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางศีลธรรม เว้นแต่นักศึกษาตามโครงการศึกษาลักษณะพิเศษ • ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ • เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษา อาชีพที่สามารถทำได้หลังจากสำเร็จการศึกษา 1. นักภาษาโบราณ/ นักอักษรศาสตร์ (ด้านภาษาและวรรณคดี, กรมศิลปากร) 2. ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม (ภาษาบาลี) 3. อนุศาสนาจารย์ (กองอนุศาสนาจารย์ ทั้ง 3 เหล่าทัพ) 4. นักปฏิบัติงานการศาสนา (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ) 5. อาลักษณ์ปฏิบัติการ (กองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี) 6. พระธรรมทูต 7. นักวิจัย/ นักวิชาการอิสระ (ด้านภาษาบาลีและสันสกฤต) 8. บรรณาธิการ/ นักเขียน/ นักแปล 9. ข้าราชการและพนักงานของรัฐในกระทรวงหรือองค์การที่เกี่ยวข้อง


ข้อมูลหลักสูตร

ทุนการศึกษาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (วาสนมหาเถร) ในพระสังฆราชูปถัมภ์

ด้วย เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นายกสภามหาวิทยาลัย มีพระดำริเกี่ยวกับนโยบายการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยว่า ควรมีทุนการศึกษาที่จัดตั้งไว้เพื่อให้พระภิกษุและสามเณรได้ศึกษาที่มหาวิทยาลัยจนจบหลักสูตร อันจะเป็นการสร้างศาสนทายาทเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยทรงพระอนุสรณ์ว่า เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวราลงกรณ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (อดีตนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย) เป็นผู้ทรงคุณูปการแก่การศึกษาของคณะสงฆ์ จึงโปรดประทานพระนามเพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นั้นว่า "ทุนการศึกษาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (วาสนมหาเถร) ในพระสังฆราชูปถัมภ์" และประทานพระอนุญาตให้มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ดำเนินการบริหารทุนการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
    ๑. เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้พระภิกษุและสามเณรที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น อันจะเป็นบุคลากรของคณะสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถในการสนองงานพระศาสนาและมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาได้ในอนาคต
    ๒. เพื่อให้พระภิกษุและสามเณรได้รับการศึกษาในหลักสูตรที่ทันสมัย เข้ากับบริบทของสังคมปัจจุบัน และมีการสอนตามหลักพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ให้สามารถเผยแพร่หลักธรรม คำสอนทั้งแก่คนไทยและชาวต่างประเทศ  
    ๓. เพื่อยกระดับการศึกษาของพระภิกษุและสามเณร อีกทั้งเตรียมความพร้อมให้สามารถไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในต่างประเทศ อันจะเป็นการต่อยอดทางวิชาการและวิจัยทางด้านพระพุทธศาสนาให้มั่นคง
    ๔. เพื่อเตรียมบุคลากรคณะสงฆ์ของประเทศให้พร้อมต่อการเป็นศูนย์กลางในการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาของโลก

ทุนดังกล่าว จัดเป็นทุนการศึกษาต่อเนื่องแก่พระภิกษุและสามเณร จำนวน ๕๐ ทุนต่อปี ปีการศึกษาละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตลอดหลักสูตรรวม ๔๐๐,๐๐๐ บาท ต่อรูป ซึ่งครอบคลุมค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายส่วนตัวตลอดการศึกษา ผู้ได้รับทุนจะศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในสาขาที่มหาวิทยาลัยกำหนด สามารถขอรับทุนการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้

 

ข้อมูลหลักสูตร

1.     ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต 
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Pali 
and Sanskrit 

2.     ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาบาลีและสันสกฤต) 
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (ภาษาบาลีและสันสกฤต)  
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Pali 
and Sanskrit)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.A. (Pali and Sanskrit) 

3.     วิชาเอกเดี่ยว จำนวน วิชาเอก 

วิชาเอก พุทธศาสตร์ (Buddhist Studies) 

วิชาเอกพระไตรปิฎกศึกษา (Tipitaka Studies) 

4.     จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
137 หน่วยกิต

5.     รูปแบบของหลักสูตร

5.1 รูปแบบหลักสูตรปริญญาตรี ปี
5.2 ประเภทของหลักสูตรหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

5.3 ภาษาที่ใช้ภาษาไทย 

5.4 การรับเข้าศึกษา: รับนักศึกษาไทย (ทั้งบรรพชิตและบุคคลทั่วไป) และนักศึกษาชาวต่างชาติ

5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษาให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว


จุดเด่น

  • คณาจารย์มีคุณวุฒิและความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านภาษาบาลี, สันสกฤตและภาษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษาฮินดี, ภาษาอังกฤษ, ภาษาพม่า, ภาษาเขมร เป็นต้น
  • ผู้เรียนจะได้เรียนรู้องค์ความรู้ทางภาษาบาลีและสันสกฤตอันเป็นพื้นฐานในการศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนาและแนวคิดทางปรัชญาของศาสนาอื่น ๆ โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อและดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม
  • มีทุนการศึกษา
  • มีโอกาสศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (เปรียญธรรม ประโยคขึ้นไป)
  • ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางศีลธรรม เว้นแต่นักศึกษาตามโครงการศึกษาลักษณะพิเศษ
  • ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ
  • เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษา

อาชีพที่สามารถทำได้หลังจากสำเร็จการศึกษา

1.     นักภาษาโบราณ/ นักอักษรศาสตร์ (ด้านภาษาและวรรณคดี, กรมศิลปากร)

2.     ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม (ภาษาบาลี)

3.     อนุศาสนาจารย์ (กองอนุศาสนาจารย์ ทั้ง เหล่าทัพ) 

4.     นักปฏิบัติงานการศาสนา  (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ) 

5.     อาลักษณ์ปฏิบัติการ (กองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)

6.     พระธรรมทูต

7.     นักวิจัย/ นักวิชาการอิสระ (ด้านภาษาบาลีและสันสกฤต)

8.     บรรณาธิการ/ นักเขียน/ นักแปล

9.     ข้าราชการและพนักงานของรัฐในกระทรวงหรือองค์การที่เกี่ยวข้อง

 

คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สมัคร

    ๑. มีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน ๓๕ ปี
    ๒. สำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า (เปรียญธรรม ๓ ประโยคขึ้นไป)
    ๓. มีความประพฤติเรียบร้อย มีจริยาวัตรงดงาม เหมาะสมแก่สมณสารูป
    ๔. มีสังกัดคณะสงฆ์ตามพรบ.คณะสงฆ์

หลักฐานประกอบการสมัคร

    ๑. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๒ รูป (รูปถ่ายไม่เกิน ๖ เดือน)
    ๒. สำเนาใบแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือใบรับรองคุณวุฒิที่ใช้สมัคร พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง หรือใบเกรดเฉลี่ยคะแนนสะสม ม.๔ – ม.๖ (๕ ภาคการเรียน) จำนวน ๑ ฉบับ 
    ๓. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือสุทธิ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน ๑ ฉบับ
    ๔. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน ๑ ฉบับ
    ๕. สำเนาการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี) 
    ๖. ใบอนุญาตให้เข้าศึกษาจากเจ้าอาวาส หรือใบรับรองความประพฤตินักเรียนจากสถานศึกษา

วิธีการคัดเลือกและเกณฑ์การตัดสิน

    มหาวิทยาลัยจะดำเนินการคัดเลือกผู้มีสิทธิได้รับทุนการศึกษา โดยแบ่งเป็น ๒ รอบ ดังต่อไปนี้

รอบที่ ๑ การสอบข้อเขียน เป็นการสอบวัดความรู้ทางวิชาการในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความรู้ที่จำเป็นในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้
    (๑) พระพุทธศาสนา และภาษาบาลีเบื้องต้น
    (๒) ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และความรู้ทั่วไป
    (๓) การคิดวิเคราะห์ การให้เหตุผล และการคำนวณเบื้องต้น

รอบที่ ๒ การสอบสัมภาษณ์ ประเมินบุคลิกภาพ พฤติกรรม วุฒิภาวะทางอารมณ์ ทัศนคติ ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นหมู่คณะ ทักษะและความสามารถในการสื่อสาร ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา และคุณสมบัติอื่น ๆ ที่จำเป็นในการศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย

เกณฑ์การตัดสิน
    (๑) ผู้ที่ได้คะแนนในรอบที่ ๑ มากกว่าร้อยละ ๖๐ จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ในรอบที่ ๒
    (๒) ผู้ที่ได้คะแนนในรอบที่ ๒ มากกว่าร้อยละ ๖๐ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ตามจำนวนและหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด จึงจะเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับทุนการศึกษา

การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ

ผ่านระบบรับสมัครและเว็บไซต์หลักของมหาวิทยาลัย https://www.mbu.ac.th