มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ศาลายา นครปฐม

การรับสมัคร รอบที่ 3 Admission

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์

เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 06 พ.ค. 2568

คุณสมบัติ/เงื่อนไขการรับ

คะแนน GPAX ต่ำสุด 2.00

นักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี


รายละเอียดการรับ

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตทางรัฐศาสตร์ที่มีคุณธรรม และจริยธรรมในการปฏิบัติงาน ผ่านการฝึกปฏิบัติและการเรียนรู้ในสถานที่จริง พัฒนาทักษะการ เรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในยุคดิจิทัล การเรียนในหลักสูตรนี้เน้นทฤษฎีและ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ร่วมวิเคราะห์จากสถานการณ์จริงด้านการเมือง การปกครองทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ ร่วมกับการฝึกภาคสนามในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้น การบูรณาการพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา


ข้อมูลหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Political Science Program in Political Science


ชื่อปริญญา (ภาษาไทย)

ชื่อเต็ม : รัฐศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์)

ชื่อย่อ : ร.บ. (รัฐศาสตร์)

ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ)

ชื่อเต็ม : Bachelor of Political Science (Political Science)

ชื่อย่อ : B.Pol.Sc. (Political Science)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 134 หน่วยกิต


ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ตามแนวพระพุทธศาสนาและตามหลักวิชาการสากล ทั้งในมิติการเมืองในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศ และมีคุณลักษณะสอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษาและปรัชญาของหลักสูตร เป็นกำลังที่สำคัญของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 
             บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพ ด้านการปกครอง บริหาร นโยบายและแผนได้ทุกหน่วยงาน ราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ บริษัทเอกชน และอื่น ๆ
1. องค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ปลัดอำเภอ ตำรวจ ทหาร อนุศาสนาจารย์บุคลากร ทางการศึกษาของรัฐ นักวิจัย นักการทูต นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักการเมืองท้องถิ่น นักการเมืองระดับชาติ เจ้าหน้าที่ศาลปกครอง
2. องค์การภาคเอกชน ได้แก่ พนักงานธนาคาร พนักงานสถาบันการเงิน เจ้าหน้าที่ บริหารงานบุคคล เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป นักสื่อสารมวลชน
3. องค์กรอิสระ ได้แก่ พนักงานในหน่วยงานขององค์กรอิสระ องค์การมหาชน องค์การไม่ แสวงหากำไร
4. องค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ เจ้าหน้า UN, IMF, UNDP, สำนักงานเลขาธิการ ASEAN
5. องค์การคณะสงฆ์ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัด ศาสนพิธีกร พระธรรมทูต พระนักเผยแผ่ พระนักพัฒนา