มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
จังหวัดร้อยเอ็ด

การรับสมัคร รอบที่ 4 Direct Admission

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์

เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 2568

คุณสมบัติ/เงื่อนไขการรับ

คะแนน GPAX ต่ำสุด 2.00

จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า


รายละเอียดการรับ

รายละเอียดของหลักสูตร หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา วิทยาเขตร้อยเอ็ด คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ สถานที่จัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ถนนเลี่ยงเมือง ตำบลดงลาน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด รหัสไปรษณีย์ 45000 หมวดที่1 ชื่อปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิต ประกาศนียบัตรชั้นสูง และสาขาวิชา 1. รหัสและชื่อหลักสูตร รหัสหลักสูตร : xxxxxxxxxxxxxx ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Political Science Program in Political Science 2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : รัฐศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ร.บ. (รัฐศาสตร์) ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Political Science (Political Science) ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Pol.Sc. (Political Science) 3. วิชาเอก ไม่มี 4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ปริญญาตรี134 หน่วยกิต 5. รูปแบบของหลักสูตร 5.1 รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี 5.2 ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ 5.3 ภาษาที่ใช้ จัดการเรียนการสอนภาษาไทย 5.4 การรับนักศึกษา รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้ 5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว 6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/มติเห็นชอบหลักสูตร 6.1 เป็นหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) 6.2 เปิดดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตรตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เป็นต้น ไป 6.3 ปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2554 ปรับปรุงครั้งล่าสุด พ.ศ. 2563 7. การพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร 7.1 ได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการประจำคณะสังคมศาสตร์ เมื่อการประชุม ครั้งที่ 2/2567 วันที่ 23 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 7.2 ได้รับการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อการประชุม ครั้งที่ 4/2567 วันที่ 17 เดือน เมษายน พ.ศ. 2567 7.3 ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อการประชุม ครั้งที่ x/2567 วันที่ xx เดือน เมษายน พ.ศ. 2567 7.4 ปรับปรุงจากหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) 7.5 รหัสอ้างอิงใช้ประกอบการยื่นขอเสนอหลักสูตรปรับปรุงแบบแยก 25631864000673


ข้อมูลหลักสูตร

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการปกครอง
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา วิทยาเขตร้อยเอ็ด

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : 25491861105557
ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Political Science Program in Government
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : รัฐศาสตรบัณฑิต (การปกครอง)

ชื่อย่อ : ร.บ. (การปกครอง)

ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Political Science (Government)

ชื่อย่อ : B.Pol.Sc. (Government)

3. วิชาเอก
ไม่มี
4. จํานวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
137 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาตรี4 ปี
5.2 ประเภทของหลักสูตร
ปริญญาตรีทางวิชาการ
5.3 ภาษาที่ใช้  ภาษาไทย 
5.4 การรับเข้าศึกษา
นักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สําเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
6. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสําเร็จการศึกษา
บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพ ด้านการปกครอง บริหาร นโยบายและแผนได้ทุกหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ บริษัทเอกชน และอื่น ๆ
6.1 องค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ปลัดอําเภอ ตํารวจ ทหาร อนุศาสนาจารย์บุคลากรทางการศึกษาของรัฐ นักวิจัย นักการทูต นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนนักการเมืองท้องถิ่น นักการเมืองระดับชาติ เจ้าหน้าที่ศาลปกครอง
6.2 องค์การภาคเอกชน ได้แก่ พนักงานธนาคาร พนักงานสถาบันการเงิน เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป นักสื่อสารมวลชน
6.3 องค์กรอิสระ ได้แก่ พนักงานในหน่วยงานขององค์กรอิสระ องค์การมหาชน องค์การไม่แสวงหากําไร
6.4 องค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ เจ้าหน้า UN, IMF, UNDP, สํานักงานเลขาธิการ ASEAN
6.5 องค์การคณะสงฆ์ได้แก่ เจ้าหน้าที่สํานักงานพระพุทธศาสนาประจําจังหวัด ศาสนพิธีกรพระธรรมทูต พระนักเผยแผ่ พระนักพัฒนา