มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ศาลายา นครปฐม

การรับสมัคร รอบที่ 1 Portfolio

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

สมัครเรียนหลักสูตรนี้
คุณสมบัติ/เงื่อนไขการรับ

คะแนน GPAX ต่ำสุด 2.50

คุณสมบัติผู้สมัคร 1. สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 2. รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่มีทักษะในการใช้ภาษาไทยได้ เอกสารประกอบการสมัคร 1. สำเนาประกาศนียบัตรเปรียญธรรม (ป.ธ.๓) 2. สำเนาผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3. สำเนาบัตรประชาชน 4. สำเนาทะเบียนบ้าน 5. สำเนาการเปลี่ยน ชื่อ-สกุล ถ้ามี 6. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด ๑.๕ นิ้ว จำนวน ๓ รูป (ถ่ายมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน) 7. ใบรับรองแพทย์ (ออกมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน)


รายละเอียดการรับ

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะศาสนาและปรัชญา/ภาควิชาพุทธศาสตร์ หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป 1. รหัสและชื่อหลักสูตร รหัสหลักสูตร 25491861110485 ภาษาไทย : ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Buddhist Studies 2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต (พุทธศาสน์ศึกษา) ชื่อย่อ : ศศ.บ. (พุทธศาสน์ศึกษา) ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Arts (Buddhist Studies) ชื่อย่อ : B.A. (Buddhist Studies) 3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 123 หน่วยกิต 4. รูปแบบของหลักสูตร 4.1 รูปแบบ  ปริญญาตรี 4 ปี (ทางวิชาการ) 4.2 ประเภทของหลักสูตร  หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ 4.3 ภาษาที่ใช้  หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย 4.4 การรับนักศึกษา  รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่มีทักษะการสื่อสารภาษาไทยได้ 4.5 ความร่วมมือกับหน่วยงาน / สถาบันอื่น  เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ 4.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา  ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

สมัครเรียนหลักสูตรนี้
ข้อมูลหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้ 1.3.1 เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจทางพระพุทธศาสนาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติอย่างถูกต้อง 1.3.2 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะทางเทคโนโลยี การคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้ในสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษาเพื่อแก้ปัญหาในการทำงาน และสร้างความก้าวหน้าแก่ชีวิตในทิศทางที่ถูกต้อง 1.3.3 เพื่อให้บัณฑิตนำเอาหลักการและวิธีการทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน โดยสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 1. พระสังฆาธิการ/พระธรรมทูต 2. อนุศาสนาจารย์/นักวิจัย/นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา 3. บรรณาธิการ/นักเขียน/วิทยากร 4. ข้าราชการและพนักงานของรัฐในกระทรวง องค์การมหาชนที่เกี่ยวข้อง