มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
จังหวัดขอนแก่น

การรับสมัคร รอบที่ 2 Quota

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. 2568

คุณสมบัติ/เงื่อนไขการรับ

คะแนน GPAX ต่ำสุด 2.0

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า เป็นไปตามระเบียบ/ประกาศของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559


รายละเอียดการรับ

บัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ บริษัทเอกชน และอื่นๆ เช่น ข้าราชการ พนักงานราชการ นักวิชาการศึกษา นักวิจัย พนักงานปกครอง กรมการปกครอง (ปลัดอำเภอ) พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่การทูต นักการทูต เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ นักพัฒนาชุมชน นักวิชาการคลัง นักพัฒนาสังคม และอื่น ๆ เจ้าหน้าที่ในองค์การมหาชนและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เจ้าพนักงานในหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ เจ้าหน้าที่ศาลปกครอง พนักงานคดีปกครอง นักวิชาการแรงงาน นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ และอื่น ๆ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าพนักงานในหน่วยงานขององค์กรเอกชน องค์กรอิสระ องค์การมหาชน องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร นักธุรกิจ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน และอื่น ๆ นักวิจัยตามสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยต่าง ๆ


ข้อมูลหลักสูตร

  1. ภาษาไทย : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Administration Program in Public Administration
  1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : รป.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์)
    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Public Administration (Public Administration)
    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.P.A. (Public Administration)
  2. วิชาเอกเดี่ยว
    ไม่มี
  3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
    151 หน่วยกิต
  4. รูปแบบของหลักสูตร 
    5.1 รูปแบบ
    หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
    5.2 ประเภทของหลักสูตร
    หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
    5.2 ภาษาที่ใช้
    จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
    5.3 การรับเข้าศึกษา
    นักศึกษาไทย หรือ นักศึกษาต่างชาติ ที่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้เป็นอย่างดี ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
    5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
    เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
    5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
    ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว