มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ศาลายา นครปฐม

การรับสมัคร ทุนการศึกษาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (วาสนมหาเถร) ในพระสังฆราชูปถัมภ์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา

สิ้นสุดการรับ

คุณสมบัติ/เงื่อนไขการรับ

คะแนน GPAX ต่ำสุด 2.00

1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า เช่น เปรียญธรรม 3 ประโยค


รายละเอียดการรับ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1 พระธรรมทูต/พระสังฆาธิการ/อนุศาสนาจารย์
2 อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย/ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม
3 นักวิจัย/นักวิชาการศึกษา/นักวิชาการอิสระ
4 บรรณาธิการ/นักเขียน/นักภาษาโบราณ/นักอักษรศาสตร์
5 ข้าราชการและพนักงานของรัฐในกระทรวง องค์การที่เกี่ยวข้อง


ข้อมูลหลักสูตร

ทุนการศึกษาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (วาสนมหาเถร) ในพระสังฆราชูปถัมภ์

ด้วย เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นายกสภามหาวิทยาลัย มีพระดำริเกี่ยวกับนโยบายการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยว่า ควรมีทุนการศึกษาที่จัดตั้งไว้เพื่อให้พระภิกษุและสามเณรได้ศึกษาที่มหาวิทยาลัยจนจบหลักสูตร อันจะเป็นการสร้างศาสนทายาทเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยทรงพระอนุสรณ์ว่า เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวราลงกรณ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (อดีตนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย) เป็นผู้ทรงคุณูปการแก่การศึกษาของคณะสงฆ์ จึงโปรดประทานพระนามเพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นั้นว่า "ทุนการศึกษาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (วาสนมหาเถร) ในพระสังฆราชูปถัมภ์" และประทานพระอนุญาตให้มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ดำเนินการบริหารทุนการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
    ๑. เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้พระภิกษุและสามเณรที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น อันจะเป็นบุคลากรของคณะสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถในการสนองงานพระศาสนาและมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาได้ในอนาคต
    ๒. เพื่อให้พระภิกษุและสามเณรได้รับการศึกษาในหลักสูตรที่ทันสมัย เข้ากับบริบทของสังคมปัจจุบัน และมีการสอนตามหลักพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ให้สามารถเผยแพร่หลักธรรม คำสอนทั้งแก่คนไทยและชาวต่างประเทศ 

    ๓. เพื่อยกระดับการศึกษาของพระภิกษุและสามเณร อีกทั้งเตรียมความพร้อมให้สามารถไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในต่างประเทศ อันจะเป็นการต่อยอดทางวิชาการและวิจัยทางด้านพระพุทธศาสนาให้มั่นคง

    ๔. เพื่อเตรียมบุคลากรคณะสงฆ์ของประเทศให้พร้อมต่อการเป็นศูนย์กลางในการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาของโลก

ทุนดังกล่าว จัดเป็นทุนการศึกษาต่อเนื่องแก่พระภิกษุและสามเณร จำนวน ๕๐ ทุนต่อปี ปีการศึกษาละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตลอดหลักสูตรรวม ๔๐๐,๐๐๐ บาท ต่อรูป ซึ่งครอบคลุมค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายส่วนตัวตลอดการศึกษา ผู้ได้รับทุนจะศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในสาขาที่มหาวิทยาลัยกำหนด สามารถขอรับทุนการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้

คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สมัคร

    ๑. มีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน ๓๕ ปี
    ๒. สำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า
    ๓. มีความประพฤติเรียบร้อย มีจริยาวัตรงดงาม เหมาะสมแก่สมณสารูป
    ๔. มีสังกัดคณะสงฆ์ตามพรบ.คณะสงฆ์

หลักฐานประกอบการสมัคร

    ๑. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๒ รูป (รูปถ่ายไม่เกิน ๖ เดือน)
    ๒. สำเนาใบแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือใบรับรองคุณวุฒิที่ใช้สมัคร พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง หรือใบเกรดเฉลี่ยคะแนนสะสม ม.๔ – ม.๖ (๕ ภาคการเรียน) จำนวน ๑ ฉบับ
    ๓. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือสุทธิ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน ๑ ฉบับ
    ๔. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน ๑ ฉบับ
    ๕. สำเนาการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
    ๖. ใบอนุญาตให้เข้าศึกษาจากเจ้าอาวาส หรือใบรับรองความประพฤตินักเรียนจากสถานศึกษา

วิธีการคัดเลือกและเกณฑ์การตัดสิน

    มหาวิทยาลัยจะดำเนินการคัดเลือกผู้มีสิทธิได้รับทุนการศึกษา โดยแบ่งเป็น ๒ รอบ ดังต่อไปนี้

รอบที่ ๑ การสอบข้อเขียน เป็นการสอบวัดความรู้ทางวิชาการในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความรู้ที่จำเป็นในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้
    (๑) พระพุทธศาสนา และภาษาบาลีเบื้องต้น

    (๒) ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และความรู้ทั่วไป

    (๓) การคิดวิเคราะห์ การให้เหตุผล และการคำนวณเบื้องต้น

รอบที่ ๒ การสอบสัมภาษณ์ ประเมินบุคลิกภาพ พฤติกรรม วุฒิภาวะทางอารมณ์ ทัศนคติ ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นหมู่คณะ ทักษะและความสามารถในการสื่อสาร ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา และคุณสมบัติอื่น ๆ ที่จำเป็นในการศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย

เกณฑ์การตัดสิน
    (๑) ผู้ที่ได้คะแนนในรอบที่ ๑ มากกว่าร้อยละ ๖๐ จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ในรอบที่ ๒

    (๒) ผู้ที่ได้คะแนนในรอบที่ ๒ มากกว่าร้อยละ ๖๐ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ตามจำนวนและ
หลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด จึงจะเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับทุนการศึกษา

การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ

ผ่านระบบรับสมัครและเว็บไซต์หลักของมหาวิทยาลัย https://www.mbu.ac.th