มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ศาลายา นครปฐม

การรับสมัคร รอบที่ 2 Quota

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

สิ้นสุดการรับ

คุณสมบัติ/เงื่อนไขการรับ

คะแนน GPAX ต่ำสุด 1.50

คุณสมบัติผู้สมัคร 1. สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 2. รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่มีทักษะในการใช้ภาษาไทยได้ เอกสารประกอบการสมัคร 1. สำเนาประกาศนียบัตรเปรียญธรรม (ป.ธ.๓) 2. สำเนาผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3. สำเนาบัตรประชาชน 4. สำเนาทะเบียนบ้าน 5. สำเนาการเปลี่ยน ชื่อ-สกุล ถ้ามี 6. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด ๑.๕ นิ้ว จำนวน ๓ รูป (ถ่ายมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน) 7. ใบรับรองแพทย์ (ออกมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน)


รายละเอียดการรับ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้ มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ดี ควบคู่กับความประพฤติดี มีความคิดบวก พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในทุก อาชีพที่ทำ อาชีพที่สามารถประกอบได้ ภาครัฐ 1. นักวิชาการศาสนาในหน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น 2. อนุศาสนาจารย์ในหน่วย งานภาครัฐ เช่น กองทัพ เรือนจำ โรงพยาบาล เป็นต้น 3. นักพัฒนาสังคมในหน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น ภาคเอกชน 4. บุคลากร ทางการศึกษา เช่น ครู อาจารย์ ในโรงเรียน สถาบันการศึกษาต่าง ๆ 5. นักสื่อสารมวลชน เช่น นักข่าว พิธีกร ผู้ผลิตสื่อต่าง ๆ 6. นักพัฒนาทรัพยากรบุคคล เช่น วิทยากร โค้ช นักวิชาการอิสระ


ข้อมูลหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้ 1.3.1 เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจทางพระพุทธศาสนาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติอย่างถูกต้อง 1.3.2 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะทางเทคโนโลยี การคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้ในสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษาเพื่อแก้ปัญหาในการทำงาน และสร้างความก้าวหน้าแก่ชีวิตในทิศทางที่ถูกต้อง 1.3.3 เพื่อให้บัณฑิตนำเอาหลักการและวิธีการทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน โดยสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 1. พระสังฆาธิการ/พระธรรมทูต 2. อนุศาสนาจารย์/นักวิจัย/นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา 3. บรรณาธิการ/นักเขียน/วิทยากร 4. ข้าราชการและพนักงานของรัฐในกระทรวง องค์การมหาชนที่เกี่ยวข้อง