มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
จังหวัดเชียงใหม่

การรับสมัคร รอบที่ 4 Direct Admission

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4ปี)

เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 2568

คุณสมบัติ/เงื่อนไขการรับ

คะแนน GPAX ต่ำสุด 2.00

รับสมัครตรงที่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร 103 ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทร.053-270-975-6


รายละเอียดการรับ

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษและการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถบูรณาการความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาและสามารถศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบแนวคิดทฤษฎีที่สอดคล้องกับสภาพสังคมและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม พร้อมทั้งยึดมั่นในกรอบคุณธรรมวิชาชีพครู


ข้อมูลหลักสูตร

  1. รหัสและชื่อหลักสูตร  


รหัสหลักสูตร     : 25621864000795

ภาษาไทย         : หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4 ปี)

ภาษาอังกฤษ     : BACHELOR OF EDUCATION PROGRAM IN TEACHING ENGLISH


  2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา  


ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)         : ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนภาษาอังกฤษ)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย)          : ศษ.บ. (การสอนภาษาอังกฤษ)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)    : BACHELOR OF EDUCATION (TEACHING ENGLISH)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)     : B.ED. (TEACHING ENGLISH)


 3. วิชาเอก  


          วิชาเอกเดี่ยว การสอนภาษาอังกฤษ (TEACHING ENGLISH)


 4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร  


143 หน่วยกิต


  5. รูปแบบของหลักสูตร  


5.1  รูแบบ : 

       หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

5.2 ประเภทของหลักสูตร : 

       หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

5.3  ภาษาที่ใช้ : 

       หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

5.4  การับเข้าศึกษา : 

        รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ

5.5  ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : 

       เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ

5.6  การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : 

       ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว


  6. จุดเด่นของหลักสูตรนี้   

     หลักสูตรศึกษาศาสตบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษและการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถบูรณาการความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาและสามารถศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามกรอบแนวคิดทฤษฎีที่สอดคล้องกับสภาพสังคมและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม พร้อมทั้งยึดมั่นในกรอบคุณธรรมวิชาชีพครู


  7. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา เช่น  

       1. ครูสอนภาษาอังกฤษของภาครัฐและเอกชน

        2. นักวิชาการด้านการศึกษา
        3. พนักงานในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
        4. นักวิจัยทางการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
        5. บุคลากรทางการศึกษา
        6. ประกอบวิชาชีพอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษ