คะแนน GPAX ต่ำสุด 2.00
Portfolio ให้เขียนบรรยายเกี่ยวกับคุณสมบัติของตนเองในแฟ้มสะสม ว่าเป็นคนดี คือ มีลักษณะคิดดี พูดดี และทำดี ในระหว่างที่เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ มี EQ (ความฉลาดทางอารมณ์) คือสามารถรู้เท่าทันอารมณ์ทั้งดีและร้ายของตน และสามารถจัดการด้วยวิธีการที่ชาญฉลาด ไม่ก่อความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น โดยให้เขียนบรรยายในแฟ้มสะสม (Portfolio) มีคำรับรองความประพฤติจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน หรือสถานศึกษา เช่น ครูแนะแนว ครูประจำชั้น ผู้อำนวยการ เป็นต้น ตลอดถึงเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า (หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับเปรียญธรรม 5 ประโยคสำหรับพระภิกษุ-สามเณร) โดยไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามคือ ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาต่อ และไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางจริยธรรมและศีลธรรม
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) เป็นหลักสูตร 4 ปี มุ่งเน้นพัฒนาตน พัฒนางาน พัฒนาองค์การ พัฒนาสังคม และพัฒนาประเทศชาติ ด้วยศาสตร์สมัยใหม่ ผสมผสานอย่างลงตัวกับพุทธศาสตร์ ปัจจุบันกำลังเป็นที่ต้องการของโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกสติ เรียกว่า Mindfulness ถูกนำไปศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคม ทั้งในด้านจิตวิทยาและวงการแพทย์ อาทิ เพื่อลดความเครียด เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ เป็นต้น หลังสำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ดังนี้ พัฒนากร/พัฒนาสังคม/นักพัฒนาทรัพยากรบุคคล/นักวิชาการองค์การท้องถิ่นหรือเทศบาล/นักวิชาการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์/นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา/นักเขียน/นักวิจารณ์/นักวิจัย/ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/วิทยากร/เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนา/เจ้าหน้าที่กรมศาสนา/อนุศาสนาจารย์/พระธรรมทูต/พระสังฆาธิการ/อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สมัครเรียนหลักสูตรนี้
จุดเด่นของหลักสูตร
ผ่านการรับรองการตรวจประเมินคุณภาพหลักสูตร ในระดับดี มีคะแนนดีขึ้นทุกปี ตั้งแต่เปิดหลักสูตร จนถึงปัจจุบัน
เป็นหลักสูตรที่เน้นการพัฒนาตน พัฒนางาน พัฒนาองค์การ พัฒนาสังคม และพัฒนาประเทศ ด้วยการประยุกต์ใช้ศาสตร์สมัยใหม่ร่วมกับศาสตร์ของพระพุทธเจ้า
รายวิชาที่น่าสนใจ อาทิ มงคลสูตรศึกษาเพื่อการพัฒนา/จิตวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์/เศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์/ภาษาอังกฤษสำหรับพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา/ระเบียบวิธีวิจัยทางพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา/การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวพุทธศาสตร์/การโค้ชชีวิตและการปฏิบัติงานตามหลักพุทธศาสตร์/สุขภาวะสังคมตามแนวพุทธศาสตร์ และรายวิชาอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย
สามารถนำไปประกอบอาชีพได้หลากหลายอาชีพ หลังสำเร็จการศึกษา ดังนี้
พัฒนากร/พัฒนาสังคม/นักพัฒนาทรัพยากรบุคคล/นักวิชาการองค์การท้องถิ่นหรือเทศบาล/นักวิชาการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์/นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา/นักเขียน/นักวิจารณ์/นักวิจัย/ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/วิทยากร/เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนา/เจ้าหน้าที่กรมศาสนา/อนุศาสนาจารย์/พระธรรมทูต/พระสังฆาธิการ/อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง