คุณสมบัติ/เงื่อนไขการรับ
คะแนน GPAX ต่ำสุด 1.00
รับสมัครนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ทั้งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐานฯ หลักสูตรอาชีวศึกษา และหลักสูตรศึกษาตามอัธยาศัย
รายละเอียดการรับ
โดยการสอบคัดเลือกวัดความรู้ทั่วไป บุคลิกภาพ ทักษะการสื่อสาร ทัศนคติต่อการทำงานเพื่อสังคม ความถนัดทั่วไป และทางวิชาการและวิชาชีพ หรือตามคณะกรรมการพิจารณาให้เข้าศึกษา
ข้อมูลหลักสูตร
- ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Political Science Program in Political Science
- ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : รัฐศาสตรบัณฑิต (การปกครอง)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ร.บ. (รัฐศาสตร์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Political Science (Political Science)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Pol.Sc. (Political Science)
- วิชาเอกเดี่ยว
ไม่มี
- จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
134 หน่วยกิต
- รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี
5.2 ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาทางวิชาการ
5.3 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย
5.4 การรับเข้าศึกษา
นักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สาเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
ผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยว่าด้วย “ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา” อีกทั้งเสริมสร้างทักษะความรู้ ความสามารถทางรัฐศาสตร์แบบบูรณาการให้สอดคล้องกับศาสตร์พระราชและยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙ มาตรฐานการอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัยพื้นฐาน การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริหารจัดการ รวมทั้งสนับสนุนให้ฝึกภาคสนามในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองคณะสงฆ์ และหน่วยงานอื่นๆ หรือการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาตรี รู้จักวิธีแสวงหาความรู้ตามระเบียบวิธีทางวิชาการและสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ได้ เพื่อให้บัณฑิตสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม
- บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพ ด้านการปกครอง บริหาร นโยบายและแผนได้ทุกหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ บริษัทเอกชน และอื่น ๆ
- องค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ปลัดอำเภอ ตำรวจ ทหาร อนุศาสนาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาของรัฐ นักวิจัย นักการทูต นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักการเมืองท้องถิ่น นักการเมืองระดับชาติ เจ้าหน้าที่ศาลปกครอง
- องค์การภาคเอกชน ได้แก่ พนักงานธนาคาร พนักงานสถาบันการเงิน เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป นักสื่อสารมวลชน
- องค์กรอิสระ ได้แก่ พนักงานในหน่วยงานขององค์กรอิสระ องค์การมหาชน องค์การไม่แสวงหากำไร
- องค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ เจ้าหน้า UN, IMF, UNDP, สำนักงานเลขาธิการ ASEAN
- องค์การคณะสงฆ์ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัด ศาสนพิธีกร พระธรรมทูต พระนักเผยแผ่ พระนักพัฒนา