คะแนน GPAX ต่ำสุด 2.00
ุคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา 1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 2. ผู้สำเร็จระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา (สำหรับผู้ต้องการปริญญาใบที่ 2)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร บัณฑิตมีความรอบรู้ด้านปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม ในบริบทของสังคมไทยบนพื้นฐานพหุวัฒนธรรม สามารถวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ เข้าใจสถานการณ์และปัญหาสังคมอย่างชัดเจนและรอบด้าน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 1. นักวิชาการ อาจารย์ ด้านปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม 2. นักวิชาการด้านศาสนาในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 3. อนุศาสนาจารย์ 4. อาชีพอิสระ
ข้อมูลหลักสูตร
1. ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts (Philosophy, Religion, and Culture)
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (ปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Philosophy, Religion, and Culture)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.A. (Philosophy, Religion, and Culture)
3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
123 หน่วยกิต
4. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ: หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
5.2 ประเภทของหลักสูตร: หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
5.3 ภาษาที่ใช้: ภาษาไทย
5.4 การรับเข้าศึกษา: รับนักศึกษาไทย (ทั้งบรรพชิตและกลุ่มคฤหัสถ์บุคคลทั่วไป) และนักศึกษาชาวต่างชาติ
5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น: หลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา: ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว
5. รายละเอียดการรับ
5.1 นำเสนอรายละเอียดแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เพื่อใช้ในการยื่นสมัคร มีดังนี้
1. หน้าปก
2. ประวัติส่วนตัว หรือ แนะนำตัว
3. ประวัติการศึกษา -รางวัล/เกียรติบัตร-ผลงาน/สิ่งประดิษฐ์ หรือการแข่งขันทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด ภูมิภาค หรือผลงานที่รับการยอมรับในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
4. หลักฐานการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่แสดงถึงภาวการณ์เป็นผู้นำหรือกิจกรรมด้านพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและจิตสาธารณะ (ถ้ามี)
5. ผู้สมัครเรียงความ หัวข้อ เหตุผลที่เลือกเรียนในหลักสูตร เช่น ความคาดหวังของนักเรียนจากการเรียนในหลักสูตรที่สมัครเข้าเรียน เพื่อการสัมภาษณ์ ฯลฯ
จุดเด่น
คุณสมบัติผู้สมัคร
จบแล้วทำอาชีพอะไร
1. นักวิชาการ ด้านปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม
2. ข้าราชการและพนักงานของรัฐในกระทรวงหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
3. อนุศาสนาจารย์ (กองอนุศาสนาจารย์ ทั้ง 3 เหล่าทัพ)
4. นักปฏิบัติงานการศาสนา (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)
5. อาลักษณ์ปฏิบัติการ (กองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)
6. พระธรรมทูต
7. นักวิจัย/ นักวิชาการอิสระ (ด้านปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม)
8. บรรณาธิการ/ นักเขียน/ นักแปล
9. ข้าราชการและพนักงานของรัฐในกระทรวงหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง