มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ศาลายา จังหวัดนครปฐม

การรับสมัคร รอบที่ 2 Quota

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤต วิชาเอกพุทธศาสตร์ (บรรพชิตและบุคคลทั่วไป)

สิ้นสุดการรับ

คุณสมบัติ/เงื่อนไขการรับ

คะแนน GPAX ต่ำสุด 2.00

คุณสมบัติผู้สมัคร เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางศีลธรรม เว้นแต่นักศึกษาตามโครงการศึกษาลักษณะพิเศษ ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษา


รายละเอียดการรับ

ข้อมูลหลักสูตร ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤต วิชาเอก พุทธศาสตร์ ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Pali, Sanskrit major: Buddhist studies ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาบาลีสันสกฤต) ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (ภาษาบาลีสันสกฤต) ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Pali and Sanskrit) major Buddhist studies ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.A. (Pali and Sanskrit) major Buddhist studies วิชาเอกเดี่ยว ไม่ระบุ จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 137 หน่วยกิต รูปแบบของหลักสูตร 5.1 รูปแบบ หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี 5.2 ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ 5.2 ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย 5.3 การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ 5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น หลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว จุดเด่น คณาจารย์มีวุฒิการศึกษาตรงตามสาขาวิชา เมื่อเรียนนักศึกษาสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในการศึกษาขั้นสูงต่อไปได้ นักศึกสามารถรู้และเข้าใจภาษาบาลีสันสกฤตได้เป็นอย่างดี นักศึกษาสามรถเข้าใจแนวคิดทางพระพุทธศาสนาและภารตวิทยาได้เป็นอย่างดี ที่สาขามีห้องสมุดสาขาเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม คุณสมบัติผู้สมัคร เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางศีลธรรม เว้นแต่นักศึกษาตามโครงการศึกษาลักษณะพิเศษ ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษา จบแล้วทำอาชีพอะไร พระธรรมทูต/ พระสังฆาธิการ/ อนุศาสนาจารย์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย/ ครูสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม นักวิจัย/ นักวิชาการศึกษา/นักวิชาการอิสระ บรรณาธิการ/ นักเขียน/ นักภาษาโบราณ/ นักอักษรศาสตร์ ข้าราชการและพนักงานของรัฐในกระทรวง องค์การมหาชนที่เกี่ยวข้อง


ข้อมูลหลักสูตร

ข้อมูลหลักสูตร

1.     ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต 
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Pali 
and Sanskrit 

2.     ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาบาลีและสันสกฤต) 
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (ภาษาบาลีและสันสกฤต)  
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Pali 
and Sanskrit)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.A. (Pali and Sanskrit) 

3.     วิชาเอกเดี่ยว จำนวน วิชาเอก 

วิชาเอก พุทธศาสตร์ (Buddhist Studies) 

วิชาเอกพระไตรปิฎกศึกษา (Tipitaka Studies) 

4.     จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
137 หน่วยกิต

5.     รูปแบบของหลักสูตร

5.1 รูปแบบหลักสูตรปริญญาตรี ปี
5.2 ประเภทของหลักสูตรหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

5.3 ภาษาที่ใช้ภาษาไทย 

5.4 การรับเข้าศึกษา: รับนักศึกษาไทย (ทั้งบรรพชิตและบุคคลทั่วไป) และนักศึกษาชาวต่างชาติ

5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษาให้ปริญญาสาขาวิชาเดียว


จุดเด่น

  • คณาจารย์มีคุณวุฒิและความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านภาษาบาลี, สันสกฤตและภาษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษาฮินดี, ภาษาอังกฤษ, ภาษาพม่า, ภาษาเขมร เป็นต้น
  • ผู้เรียนจะได้เรียนรู้องค์ความรู้ทางภาษาบาลีและสันสกฤตอันเป็นพื้นฐานในการศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนาและแนวคิดทางปรัชญาของศาสนาอื่น ๆ โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อและดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม
  • มีทุนการศึกษา
  • มีโอกาสศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (เปรียญธรรม ประโยคขึ้นไป)
  • ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางศีลธรรม เว้นแต่นักศึกษาตามโครงการศึกษาลักษณะพิเศษ
  • ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ
  • เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษา

จบแล้วทำอาชีพอะไร

1.     นักภาษาโบราณ/ นักอักษรศาสตร์ (ด้านภาษาและวรรณคดี, กรมศิลปากร)

2.     ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม (ภาษาบาลี)

3.     อนุศาสนาจารย์ (กองอนุศาสนาจารย์ ทั้ง เหล่าทัพ) 

4.     นักปฏิบัติงานการศาสนา  (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ) 

5.     อาลักษณ์ปฏิบัติการ (กองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)

6.     พระธรรมทูต

7.     นักวิจัย/ นักวิชาการอิสระ (ด้านภาษาบาลีและสันสกฤต)

8.     บรรณาธิการ/ นักเขียน/ นักแปล

9.     ข้าราชการและพนักงานของรัฐในกระทรวงหรือองค์การที่เกี่ยวข้อง