คะแนน GPAX ต่ำสุด 2.00
คุณสมบัติทั่วไปของผู้มีสิทธิ์สมัคร 1. มีสัญชาติไทยหรือเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 2. เป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 3. เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือที่จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อ การศึกษา 4. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรง 5. ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟันเฟือนไม่สมประกอบ คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัคร 1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า หรือเป็น ผู้สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยคขึ้นไป (สายบาลี) 2. กรณีผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ให้ใช้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 (ภาคต้น) รวม 5 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.00 3. กรณีผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ให้ใช้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 รวม 6 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.00 4. กรุณีผู้สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยคขึ้นไป (สายบาลี) จะต้องมีหลักฐานใบ ประกาศนียบัตรว่าสอบไสได้เปรียญธรรม 5 ประโยคขึ้นไป 5. มีประวัติผลงาน หรือความสามารถพีเศษ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ เป็นสถาบันการศึกษาการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา ปัจจุบันเปิดสอนระดับปริญญาตรี จำนวน 4 หลักสูตร 4 สาขาวิชา คณะศึกษาศาสตร์ ได้แก่ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา หลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติ) คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติและภาคนอกเวลาราชการ) ปีการศึกษา 2567 เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ “ให้ทุกโอกาสเรียนต่อ ที่ มมร.กาฬสินธุ์” เพราะโอกาสเป็นสิ่งสำคัญ Welcome to Mahamakut Buddhist University, Kalasin Buddhist College.
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย(หลักสูตร 4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง 2566)
ข้อมูลหลักสูตร
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร :
25451861101648
ภาษาไทย :
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of
Education Program in Teaching Thai
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม
(ภาษาไทย)
: ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนภาษาไทย)
ชื่อย่อ
(ภาษาไทย)
: ศษ.บ. (การสอนภาษาไทย)
ชื่อเต็ม
(ภาษาอังกฤษ)
: Bachelor
of Education (Teaching Thai)
ชื่อย่อ
(ภาษาอังกฤษ)
: B.Ed.
(Teaching Thai)
3. วิชาเอกเดี่ยว
การสอนภาษาไทย (Teaching Thai)
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
151 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาตรี
4 ปี
5.2
ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
5.3 ภาษาที่ใช้
จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
5.4 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
5.5
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
5.6
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
คุณสมบัติทั่วไปของผู้มีสิทธิ์สมัคร
1.
มีสัญชาติไทยหรือเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
2. เป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ
หรือที่จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อ
การศึกษา
4. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรง
5. ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟันเฟือนไม่สมประกอบ
คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัคร
1.
เป็นผู้ที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
หรือเป็น
ผู้สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยคขึ้นไป
(สายบาลี)
2. กรณีผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
หรือเทียบเท่า ให้ใช้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม
(GPAX)
ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 (ภาคต้น) รวม 5 ภาคเรียน
ไม่ต่ำกว่า 2.00
3. กรณีผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ให้ใช้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม
(GPAX)
ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 รวม 6 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.00
4. กรุณีผู้สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยคขึ้นไป (สายบาลี)
จะต้องมีหลักฐาน
ใบประกาศนียบัตรว่าสอบไสได้เปรียญธรรม
5 ประโยคขึ้นไป
5. มีประวัติผลงาน หรือความสามารถพิเศษ
จุดเด่นหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถจัดการศึกษาด้านภาษาไทยได้อย่างมีคุณภาพ
โดยบูรณาการความรู้ทางด้าน พระพุทธศาสนาและมีทักษะการถ่ายทอดความรู้ การค้นคว้าวิจัย เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้
ภาษาไทยโดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีที่สอดคล้องกับผู้เรียน สภาพสังคม วัฒนธรรมและวิถีการ เปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
พร้อมทั้งยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพครู และมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม
อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
1. บุคลากรทางการศึกษา
2. ครูในสถานศึกษาของภาครัฐและเอกชน
3. อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของภาครัฐและเอกชน
4. นักวิจัยทางด้านการศึกษาภาษาและการสอนภาษาไทย
5. ผู้จัดโครงการส่งเสริมพัฒนาและบริการทางการศึกษา
6. นักวิชาการทางด้านหลักสูตรและเทคนิควิทยาการสอน
7. นักวิชาชีพทางการศึกษาทั้งในและนอกสถานศึกษา
8. นักวิชาการและนักวิจัย
9. ประกอบอาชีพอิสระ
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
นักศึกษาภาคปกติ
นักศึกษาบรรพชิตและแม่ชี
ภาคการศึกษาละ 5,000 บาท
นักศึกษาคฤหัสถ์
ภาคการศึกษาละ 6,000 บาท
ติดต่อเรา
ที่ตั้ง : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์
เลขที่ 84/1 วัดประชานิยม ถนนถีนานนท์ ตำบลกาฬสินธุ์
อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000 โทรศัพท์ : 043
010 379
เว็บไซต์
(Website)
URL : https://ksn.mbu.ac.th
Facebook วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ MBU Kalasin Buddhist College
URL : https://www.facebook.com/MBU.KBC.Kalasin
facebook สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ MBU Kalasin
URL : https://www.facebook.com/ThaiMBUKalasin
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย : 084-743-0812, 061-115-9219