คะแนน GPAX ต่ำสุด 2.00
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ไม่เป็นผู้มีคุณสมบัติต้องห้ามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ไม่เป็นผู้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางศีลธรรม เว้นแต่นักศึกษาตาม โครงการศึกษาลักษณะพิเศษ ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้เข้ารับการศึกษา
1. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร จำนวน 128 หน่วยกิต 2. หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี 3. งานที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถปฏิบัติงานในองค์กรคณะสงฆ์ (สำหรับผู้ที่เป็นบรรพชิต) ด้านการพัฒนาสังคม ด้านวิชาการ บริหารนโยบายและแผนได้ทุกหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ บริษัทเอกชน และอื่น ๆ (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาที่เป็นคฤหัสถ์) ดังนี้ 3.1 องค์กรคณะสงฆ์ ได้แก่ พระสังฆาธิการ สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง สำนักงานการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ศูนย์พระปริยัตินิเทศแห่งคณะสงฆ์ สำนักเรียน สำนักศาสนศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา พระธรรมทูต 3.2 หน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ พัฒนากร นักพัฒนาชุมชน เจ้าพนักงานพัฒนาสังคม งานด้านการบริหารงานบุคคล งานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ งานด้านประชาสังคม นักวิจัย นักวิชาการวัฒนธรรม (กระทรวงวัฒนธรรม) นักวิชาการศาสนา (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)นักวิชาการยุติธรรม นักทัณฑวิทยา (กระทรวงยุติธรรม) 3.3 หน่วยงานเอกชน เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล (HR) เจ้าหน้าที่ฝ่ายฝึกอบรม ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่รณรงค์ เจ้าหน้าที่มวลชนสัมพันธ์ (CSR) 3.4 องค์การมหาชน ได้แก่ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน 3.5 งานอิสระ ได้แก่ นักวิชาการอิสระ นักกิจกรรมทางสังคม นักเขียนคอลัมน์นิตยสาร/ออนไลน์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้รอบรู้เข้าใจในศาสตร์ของรายวิชา
เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการวางแผนพัฒนาหลักสูตร ได้คำนึงถึงสถานการณ์ของการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม เนื่องจากสังคมยุคการสื่อสารไร้พรมแดน
เสรีทางการค้า ทำให้เกิดการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศการผลิตบุคลากรที่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่มุ่งไปสู่สังคมแห่งความรู้
ที่แข่งขันกันด้วยความรู้ ความสามารถ และมีความเข้าใจในผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม มีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งจะช่วยชี้นำและขับเคลื่อน
ให้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปในรูปแบบที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตของสังคมไทย
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถปฏิบัติงานในองค์กรคณะสงฆ์ (สำหรับผู้ที่เป็นบรรพชิต) ด้านการพัฒนาสังคม ด้านวิชาการ บริหารนโยบายและแผนได้ทุกหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ บริษัทเอกชน และอื่น ๆ (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาที่เป็นคฤหัสถ์) ดังนี้
1. องค์กรคณะสงฆ์ ได้แก่ พระสังฆาธิการ เจ้าหน้าที่การศึกษาพระปริยัติธรรม (จศป.) พนักงานมหาวิทยาลัยสงฆ์ นักวิชาการศาสนา พระธรรมทูต พระนักเทศน์ พระสอนศีลธรรม
2. หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ นักวิชาการ นักวิจัย พัฒนากร นักพัฒนาชุมชน เจ้าพนักงานพัฒนาสังคม นักบริหารงานบุคคล นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการวัฒนธรรม (กระทรวงวัฒนธรรม) นักวิชาการศาสนา (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ) นักวิชาการยุติธรรม นักทัณฑวิทยา (กระทรวงยุติธรรม) เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป พนักงานราชการ
3. หน่วยงานเอกชน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล (HR) เจ้าหน้าที่วิชาการสังคม เจ้าหน้าที่ฝ่ายฝึกอบรม ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่รณรงค์ เจ้าหน้าที่มวลชนสัมพันธ์ (CSR)
4. องค์การมหาชน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ศูนย์คุณธรรม (กระทรวงมหาดไทย) เจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
5. รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ เจ้าหน้าที่การเคหะแห่งชาติ เจ้าหน้าที่สำนักงานธนานุเคราะห์ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
การรับรองมาตรฐานของหลักสูตร