มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
จังหวัดเชียงใหม่

การรับสมัคร รอบที่ 1 Portfolio

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

สิ้นสุดการรับ

คุณสมบัติ/เงื่อนไขการรับ

คะแนน GPAX ต่ำสุด 0

แฟ้มสะสมผลงาน ประกอบไปด้วย 1.ข้อมูลส่วนตัว และประวัติการศึกษา 2. ประวัติการเข้าร่วมกิจกรรม 3.ผลงาน ที่แสดง ต้องประกอบด้วยภาพ กิจกรรมผลงานที่เคยทำมาและต้อง สอดคล้องกับ หลักสูตรที่สมัครเข้า เรียนต่อ 4.ทั้งนี้ต้องเป็นผลงานในช่วง มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่านั้น 5.จำนวนไม่เกิน 10 แผ่นกระดาษ A4


รายละเอียดการรับ

คุณสมบัติผู้สมัคร 1.สำเร็จการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 2. และไม่เป็นผู้มีคุณสมบัติต้องห้ามข้อใด ข้อหนึ่งต่อไปนี้ 2.1 ไม่เป็นผู้ที่เป็นโรค ติดต่อร้ายแรง หรือโรคร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา 2.2ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางศีล ธรรม เว้นแต่นักศึกษาตามโครงการ ศึกษาลักษณะพิเศษ 2.3 ไม่เป็นผู้ที่วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือติดยาเสพติดให้โทษ 2.4 เป็นผู้ที่คณะกรรมการหลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษาสำหรับนักศึกษา ต่างชาติ ต้องผ่านเกณฑ์ภาษาไทยตาม ที่หลักสูตรกำหนดหรือเทียบเท่า


ข้อมูลหลักสูตร

ข้อมูลหลักสูตร

  1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)

    1. รหัสและชื่อหลักสูตร  รหัสหลักสูตร : 25631864002348

    ภาษาไทย : ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

    ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Buddhist Studies for Development

    2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

    ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

    ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

    ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Buddhist Studies for Development)

    ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.A. (Buddhist Studies for Development)

    3. วิชาเอก  ด้านพุทธศาสตร์

    4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร  ปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต

    5. รูปแบบของหลักสูตร

    1.1 รูปแบบ   ปริญญาตรี 4 ปี

    1.2 ประเภทของหลักสูตร   หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

    1.3 ภาษาที่ใช้   การจัดการเรียนการสอนใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับเอกสารและตำราเรียนใน

    วิชาของหลักสูตร มีทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

    1.4 การรับเข้าศึกษา   รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่มีทักษะในการใช้ภาษาไทยได้

    1.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น  เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

    1.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา   ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

จุดเด่น

  • เป็นหลักสูตรที่มุงเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถในการวางแผนพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน ในองค์กรด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมีความคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ และมีภาวะผู้นำในการนำความรู้ไปบูรณาการกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองตามแนวพุทธศาสตร์ให้บัณฑิตมีทักษะในการวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมในศตวรรษที่ 21 ด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์ 

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และไม่เป็นผู้มีคุณสมบัติต้องห้ามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
    • ไม่เป็นผู้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
    • ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหายอย่างร้ายแรงทางศีลธรรม เว้นแต่นักศึกษาตามโครงการศึกษาลักษณะพิเศษ
    • ไม่เป็นผู้ที่วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือติดยาเสพติดให้โทษ
  • เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้รับเข้าศึกษา
  • สำหรับนักศึกษาต่างชาติ ต้องผ่านเกณฑ์ภาษาไทยตามที่หลักสูตรกำหนดหรือเทียบเท่า

จบแล้วทำอาชีพอะไร

  • นักวิชาการในหน่วยงานของรัฐ เช่น นักวิชาการวัฒนธรรม นักวิชาการพัฒนาชุมชน (พัฒนากร) 
  • และนักวิชาการศาสนาปฏิบัติการ
  • ข้าราชการและพนักงานของรัฐในกระทรวงต่าง ๆ เช่น นักทรัพยากรบุคคล นักจัดการงาน
  • ทั่วไป เจ้าพนักงานธุรการ นักวิเทศสัมพันธ์ และ นักประชาสัมพันธ์
  • พนักงานของเอกชน เช่น มัคคุเทศก์ศิลปวัฒนธรรม ล่ามแปลภาษา
  • อาชีพอิสระ เช่น ศาสนพิธีกร นักสร้างแรงบันดาลใจ Content Creator และBlogger